บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2019

การสร้างตัวหนังสือด้วย AI CS6

รูปภาพ
คลิกดูขั้นตอนการทำ

สารรอบตัว

รูปภาพ
Homepage สารรอบตัว สมบัติของสาร        สาร หมายถึง สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้ มีทั้งสถานะที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ตัวอย่างเช่น เงิน (Ag) และเกลือแกง (NaCl) เป็นของแข็ง น้ำ (H 2 O) และเอธานอล (C 2 H 5 O) เป็นของเหลว คาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 ) และก๊าซออกซิเจน (O 2 ) เป็นก๊าซ เป็นต้น ภาพสาร       สมบัติของสาร  หมายถึง ลักษณะประจำตัวของสาร เช่น สถานะ สี กลิ่น รส การละลาย การนำไฟฟ้า จุดเดือด และการเผาไหม้ เป็นต้น สมบัติของสาร อาจจะนำมาแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้        ก. สมบัติทางกายภาพ หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายจากลักษณะภายนอก หรือจากการทดลองง่ายๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวอย่างทางกายภาพได้แก่ สถานะ รูปร่าง สี กลิ่น รส การละลาย จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความร้อนแฝง ความถ่วงจำเพาะ เป็นต้น        ข. สมบัติทางเคมี หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเกิดสารใหม่ การสลายตัวให้ได้สารใหม่ การเผาไหม้ การระเบิด และการเกิดสนิมของโลหะ เป็นต้น การจำแน

การละลาย

รูปภาพ
Homepage การละลาย  (Solubility) ความหมายของการละลาย การละลาย (Dissolve) คือ การที่สารชนิดหนึ่ง (ตัวถูกละลาย) แตกตัวออกเป็นอนุภาคเล็ก ๆ และแทรกตัวในสารอีกชนิดหนึ่ง (ตัวทำละลาย) โดยทั่วไปเราพิจารณาว่า - สารที่มีปริมาณมากกว่าเป็น ตัวทำละลาย (Solvent) - สารที่มีปริมาณน้อยกว่าเป็น ตัวถูกละลาย (Solute) - สารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายเรียกว่า aqueous solution (aq) การที่อนุภาคของตัวถูกละลายจะเข้าไปแทรกตัวอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลายได้หรือไม่ จะขึ้นอยู่กับแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของตัวทำละลายกับตัวทำละลาย แรงดึงดูดโมเลกุลระหว่างตัวทำละลายกับตัวถูกละลาย และแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลตัวถูกละลายกับตัวถูกละลาย ปกติแล้ว การที่ตัวถูกละลายจะละลายในตัวทำละลายหนึ่ง ๆ ได้นั้น สารทั้งสองชนิดจะต้องมีสมบัติเหมือนกัน ตามกฎ like dissolves like ก็คือ ตัวถูกละลายที่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลายที่มีขั้ว เพราะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีขั้วเป็นแรงไดโพล-ไดโพล (dipole - dipole) แต่จะไม่ละลายในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เช่น เอทานอล (CH3CH2OH) ละลายในน้ำ (H2O) แต่ไม่ละลายในเฮกเซน (C6H14) ในทาง

การกัดกร่อนและการป้องกัน

รูปภาพ
Homepage การกัดกร่อนและการป้องกัน การกัดกร่อนคืออะไร การกัดกร่อนของวัสดุ เป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นเสมอและสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้มีผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมบางครั้งยังทำให้มี การสูญเสียชีวิต อันเป็นผลมาจากสาเหตุมากมายหลายประการ เช่น การขาดความรู้พื้นฐานของศาสตร์ด้านการกัดกร่อน ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมในสภาวะสิ่งแวดล้อมนั้นๆและมีการบำรุงรักษาและการปอ้ งกันที่ไมถู่กตอ้ งและเหมาะสมเป็นต้น จากข้อมูลที่ได้มีการสำรวจในประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศ พบว่า มีการสูญเสียงบประมาณที่เกิดจากกัดกร่อนประมาณ 3-5% GNP และในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ได้มีการสำรวจมูลค่าการเสียหายเนื่องจากการกัดกร่อน ในปี ค.ศ. 2002 พบว่ามีการสูญเสียงบประมาณที่เกิดจากการกัดกร่อนประมาณ3.1 % GNP คิดเป็นเงิน 276 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 11 ล้านล้านบาท ดังนั้นในประเทศไทย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ศาสตร์ด้านการกัดกร่อนของวัสดุ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง 

การไทเทรต

รูปภาพ
Homepage การไทเทรต การไทเทรต คืออะไร การไทเทรต (titration)   เป็นการวิเคราะห์หาปริมาณของสารที่ไม่ทราบความเข้มข้น (unknown) ด้วยการวัดปริมาตรของสารละลาย ซึ่งปริมาตรของสารละลายจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณสาร โดยทำปฏิกิริยากับสารที่ทราบปริมาณหรือความเข้มข้นที่แน่นอน โดย - สารที่ไม่ทราบความเข้มข้นจะบรรจุในขวดรูปชมพู่เรียกว่าไทแทรนด์ (titrand) - สมมุติให้เป็นสาร A ส่วนสารที่ทราบความเข้มข้นแล้วหรือเรียกว่าสารมาตรฐานจะถูกบรรจุในบิวเรตต์ เรียกว่าไทแทรนต์ (titrant) สำหรับการไทเทรตทุกชนิด จุดที่สารที่เรานำมาไทเทรตทำปฏิกิริยากันพอดี เราเรียกว่าจุดสมมูลหรือจุดสะเทิน (Equivalence Point)จุดที่กรดทำปฏิกิริยากันพอดีหรือสะเทินพอดีกับเบส ส่วนจุดที่อินดิเคเตอร์(Indicator) เปลี่ยนสี เราเรียกว่าจุดยุติ(End Point) ซึ่งเป็นจุดที่เราจะยุติการไทเทรต โดยถ้าเราใช้อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมจะทำให้จุดยุติตรงกับจุดสมมูลหรือใกล้เคียงกับจุดสมมูลมาก แต่ถ้าเราใช้อินดิเคเตอร์ไม่เหมาะสมอาจจะทำให้จุดยุติอยู่ห่างจากจุดสมมูลมาก ทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนได้ สมมุติให้เป็นสาร B โดยมีวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และพ

ชนิดของสสารและการจําแนก

รูปภาพ
Homepage ชนิดของสสารและการจำแนก ในชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสารต่าง ๆ    สารแต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกัน บางชนิดเกิดปฏิกิริยากับน้ำอย่างรวดเร็ว บางชนิดจุดเดือดต่ำ บางชนิดจุดเดือดสูง ทำให้เราต้องศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับสมบัติและประเภทของสาร และการจัดจำแนกสาร เพื่อสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  แสดงการจัดเรียงตัวของอนุภาคของสสารในสถานะของแข็ง ของเหลวและแก๊ส สารต่างๆที่อยู่รอบตัวถ้าให้นักเรียนจัดจำแนกจะได้สารหลายกลุ่มที่อาจมีลักษณะเหมือนหรือต่างกันไป เพราะนักเรียนแต่ละคนมีเกณฑ์ในการจำแนกที่แตกต่างกันออกไป           การจำแนกสาร  เราจะสามารถใช้เกณฑ์ต่อไปนี้ในการจำแนกเป็น 4 เกณฑ์ ได้แก่             1)  การใช้สถานะเป็นเกณฑ์   แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ           1.1 ของแข็ง (Solid) มีอนุภาคภายในเรียงชิดติดกัน อนุภาคของของแข็งไม่มีการเคลื่อนที่ มีการสั่นตลอดเวลา ปริมาตรของของแข็งเปลี่ยนแปลงน้อยมาจนถือว่าปริมาตรคงที่ และจะรักษารูปร่างเดิมได้ดี เช่น นักเรียนมีปากกาอยู่ 1 แท่งเป็นทรงสี่เหลี่ยมหากนักเรียนหยิบไปวางใส่แก้วปากกาแท่งนั้นก็

Homepage

รูปภาพ
การนำเสนอข้อมูล ศาสตร์พระราชา ผู้จัดทำ   https://paphanaphon.blogspot.com/p/blog-page_28.html ขั้นตอนการทําตัวอักษรเป็นภาพ

ผู้จัดทำ

รูปภาพ
Homepage ชื่อ: ปพนพล​ บุญมี​     ชื่อเล่น: ปัน วันเกิด: 03/09/2544 กิจกรรมที่ชอบ: เล่นบาส อาหารที่ชอบ: ไก่ทอด อาหารที่ไม่ชอบ: ผัดผัก วิชาที่ชอบ: พละศึกษา วิชาที่ไม่ชอบ: คณิตศาตร์ เวลาว่าง: เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง

ศาสตร์พระราชา

รูปภาพ
Homepage

การนำเสนอข้อมูล

รูปภาพ
Homepage